www.iitgroup.in.th

www.iitgroup.in.th
murata-muratec-เครื่องพันช์

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความรู้ดีๆเรื่องงานพันช์ โลหะแผ่น จาก ไอไอที กรุ๊ป






กระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป (Conventional sheet metal cutting process)
   กระบวนการตัดโลหะแผ่น คือ กระบวนการที่ทำให้โลหะแผ่นแตกขาดออกจากกันด้วยแรงกระทำผ่านคมตัดสองคมตัดให้ ได้ชิ้นงานรูปร่างตามที่ต้องการ ทั้งนี้ อาจตัดเพื่อให้ได้รูปร่างต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม หรือการตัดเพื่อลดขนาดความกว้างของแผ่นชิ้นงาน หรือการตัดขอบของชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปอื่นๆ มาก่อน ดังนั้นกระบวนการตัดโลหะแผ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขึ้นรูปโลหะ แผ่น
กระบวนการตัดโลหะแผ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขึ้นรูปโลหะแผ่น กระบวนการตัดโลหะแผ่นสามารถจำแนกออกอย่างง่ายได้ดังนี้ กระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป และกระบวนการตัดโลหะแผ่นความเที่ยงตรง โดยในบทนี้กล่าวถึงกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป สำหรับกระบวนการตัดโลหะแผ่นความเที่ยงตรงจะได้กล่าวโดยละเอียดในบทความต่อๆ ไป
หลักการและส่วนประกอบของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป
หลักการของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป คือ การให้แรงกระทำต่อคมตัดสองคมตัดและทำให้เกิดการแตกขาดของวัสดุออกจากกัน หลักการทำงานของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไป โดยกระบวนการตัดสามารถแบ่งลำดับขั้นตอนการทำงานออกได้เป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับ คือ
ขั้นที่ 1 เมื่อคมตัดบนเคลื่อนที่กดลงบนแผ่นโลหะทำให้แผ่นโลหะเกิดการเปลี่ยนรูปอย่าง ถาวร และเกิดส่วนโค้งมนขึ้นที่แผ่นโลหะทั้งสองฝั่ง เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร
ขั้นที่ 2 เป็นช่วงที่คมตัดเคลื่อนที่ลงมาอย่างต่อเนื่องและทำให้เกิดส่วนเรียบตรงก่อน เกิดการแตกขาด ดังแสดง เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงระยะการกินลึก
ขั้นที่ 3 เป็นช่วงที่คมตัดบนเคลื่อนที่ลงมาอย่างต่อเนื่องจากการเกิดส่วนเรียบตรงจนทำให้วัสดุเกิดการแตกขาด เรียกขั้นตอนนี้ว่า ช่วงการแตกขาด





จากหลักการกระบวนการตัด เมื่อนำแผ่นโลหะที่ผ่านการตัดมาพิจารณาดูบริเวณที่เกิดการตัด ลักษณะของรอยตัดที่เกิดขึ้นที่บริเวณผิวรอยตัด ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
(1) ส่วนโค้งมน เกิดขึ้นบริเวณด้านบนสุด
(2) ส่วนเรียบตรง เกิดต่อเนื่องจากส่วนโค้งมนมีลักษณะมันเงา และได้ฉากกับผิวด้านบนของแผ่นโลหะ
(3) รอยแตกขาด เกิดต่อเนื่องจากส่วนเรียบตรงลงมา โดยมีลักษณะเป็นรอยขรุขระและเว้าเข้าไปภายในเนื้อวัสดุ และ
(4) ครีบ เกิดต่อเนื่องจากรอยแตกขาดมีลักษณะเป็นขอบคม โดยสัดส่วนลักษณะของรอยตัดขึ้นอยู่กับระยะห่างของช่องว่างของคมตัดบน (พันช์) และคมตัดล่าง (ดาย) และเรียกช่องว่างของคมตัดว่า ช่องว่างแม่พิมพ์ หรือ เคลียแรนซ์ (Clearance)
ถ้ากำหนดระยะช่องว่างแม่พิมพ์น้อยเกินไปทำให้เกิดลักษณะของส่วนเรียบตรง และรอยแตกขาดที่สอง (Secondary smooth shear surface and fracture) เกิดขึ้น และถ้ากำหนดระยะช่องว่างแม่พิมพ์มากเกินไป ทำให้เกิดการแตกขาดได้ง่ายขึ้น ส่งผลทำให้เกิดส่วนเรียบตรงลดลงแต่รอยแตกขาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดขนาดของระยะช่องว่างแม่พิมพ์ที่เหมาะสม โดยระยะช่องว่างแม่พิมพ์ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของวัสดุ
สำหรับหลักการของกระบวนการตัดโลหะแผ่นทั่วไปโดยละเอียดนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยความสัมพันธ์ของแรงและระยะการเคลื่อนที่พันช์ คือ เมื่อเริ่มเคลื่อนที่พันช์กดลงบนวัสดุที่จะตัดทำให้เกิดแรงตัดเพิ่มขึ้น วัสดุเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเกิดส่วนโค้งมนขึ้น และเมื่อเคลื่อนที่พันช์ต่อเนื่องแรงตัดจะเพิ่มขึ้นและเกิดส่วนเรียบตรงขึ้น ที่บริเวณรอยตัดของวัสดุ จากนั้นแรงตัดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดค่าหนึ่ง วัสดุเริ่มเกิดรอยแตกขาดขึ้นที่บริเวณขอบคมตัดของพันช์และดาย หลังจากเกิดรอยแตกขาดแล้ว แรงตัดจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะเดียวกันรอยแตกขากเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็วเข้าหากันจากฝั่ง พันช์และดาย ซึ่งตำแหน่งที่วัสดุเกิดการแตกขาดจากกัน (Break through) ทำให้เกิดเสียงดังและเครื่องเพรสอาจเกิดการสั่น หลังจากที่วัสดุแตกขาดออกจากกัน พันช์ยังคงเคลื่อนที่ดันวัสดุที่แตกขาดนั้นเข้าสู่รูตาย ก่อนเคลื่อนที่กลับ ตามลำดับ โดยในขณะที่พันช์เคลื่อนที่กลับข้องเอาชนะแรงที่ใช้ในการปลดแผ่นวัสดุที่ติด อยู่ที่พันช์ออก ซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับแรงที่เกิดขึ้นในขณะกดตัดวัสดุ

สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc
 หลายต่อหลายครั้งที่ทูลลิ่งมีการตัดชิ้นงาน มักจะมีส่วนของชิ้นเนื้อเหล็กที่มีความคมอยู่รอบๆรอยตัดของชิ้นงาน
และมักจะนำชิ้นงานที่มีความคมเหล่านั้น มาผ่านขั้นตอนการขัดหรือลบคมด้วยมือ ซึ่งจะเพิ่มเวลาในการทำงานขึ้นไปอีก

ฉะนั้นจึงเกิดทูลลิ่งสำหรับลบคมขึ้นมา เราเรียกว่า Deburring Tool






โดยให้ Deburring Tool วิ่งไปตามขอบของรอยตัดที่ชิ้นงาน อาศัยกระบวนการของทูลลิ่งช่วยในการลบคม ทำให้ลดระยะเวลา ในการทำงานลงเป็นอย่างมาก นอกจากลดระยะเวลาแล้วยังลดค่าใช้จ่ายลงในเวลาเดียวกัน





สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ IIT Group #MURATA #MURATEC #WIEDEMANN


สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc
เทคโนโลยีเครื่องพันซ์ (Punch Press) ก้าวหน้าไปมาก มีทั้งแบบที่ใช้มอเตอร์มาควบคุม แบบไฮดรอลิก และแบบแมคคานิก ที่เป็นที่นิยมมากคงจะไม่พ้น มอเตอร์ควบคุม หรือที่เราเรียกว่า Servo motor สะดวกสบายมากที่เดียวในการใช้งานทูลหลากหลายรูปแบบ และ Vari-tool ก็เป็นหนึ่งในนั้น

Vari-tool นั้นจะประกอบไปด้วยทูลย่อยๆ รวมอยู่ใน 1 เสตชั่น หรือ 1 หัว โดยทูลย่อยๆเหล่านั้น สามารถเลือกใส่ได้อย่างหลากหลายรูปแบบกันเลบทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นวงกลม สีเหลี่ยม และ สีเหลี่ยมหัวกลม

นอกจากนี้ Vari-tool ยังมีให้ใช้มากถึง 12 ทูลย่อย และก็ยังสามารถใช้เจาะรูเหล็กหนาได้สูงถึง 3.2 มิลลิเมตร เรียกได้ว่า เป็นทูลที่อำนวยความสะดวกอย่างมากในการทำงาน




ประโยชน์ของ Vari-tool นั้น ทำให้ลดการใช้ช่องใส่ทูลแบบที่เป็น Turret ลงถึง 11 ช่อง นั้นหมายถึงลดค่าใช้จ่ายของตัว Punch holder และ Die holder ลงถึง 11 ชุด ยังลดระยะเวลาการหมุนเปลี่ยนทูลของเครื่องลงอีกด้วย


#WIEDEMANN #MURATA #MURATEC #MURATAtool

สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

 เตรียมพบกับเรา ไอไอที กรุ๊ป ในงาน Metalex 2015 เครื่องพับดีๆ เครื่องพันช์ดีๆ สัญชาติญี่ปุ่น ส่งตรงจากแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมส่งถึงมือท่าน มาพร้อมกับโปรดีๆและเงื่อนไขดีๆ ราคาพิเศษ ได้ในงาน Metalex 2015 เจอกันได้ที่ Hall 102 Booth J23 วันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2015 เข้าชมบูธพร้อมรับของที่ระลึกกลับบ้าน แล้วเจอกันนะครับ




สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมการตลาดดีๆ ที่พาลูกค้าไปเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิต เครื่องพันช์ เครื่องพับ งานโลหะแผ่น ณ Murata Machinery, Ltd. เมืองInuyama ประเทศญี่ปุ่น 
จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-29/10/2558 เพื่อตอกย้ำความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า และการบริการ ว่าไอไอที กรุ๊ป นำเข้าจัดจำหน่ายสินค้าคุณภาพ จากญี่ปุ่น ของแท้100%





จบทริป Factory tour ครั้งที่ 2 ขอบคุณลูกค้าผู้มีอุปการะคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ไอไอที ของเรา เครื่องพันช์ เครื่องพับ งานโลหะแผ่น ไว้ใจเรา ไอไอทีกรุ๊ป  




สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc
ในงานเครื่องพันซ์ (Punch Press Machine) นั้น ปัจจัยที่มีผลต่อแรงกดเพื่อที่ใช้ในการเจาะแผ่นเหล็กให้ทะลุนั้น มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน จึงเป็นที่มาของการคำนวณแรงพันซ์ในหนึ่งครั้ง (One-Punch) เพื่อป้องกันไม่ให้เกินกว่า แรงกดของเครื่องจักรที่สามารถให้ได้ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่นกัน

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ปัจจัยที่มีผลต่อแรงพันซ์มีดังนี้

1. ชนิดของแผ่นเหล็ก (Material type)
2. ความหนาของแผ่นเหล็ก (Material thickness)
3. ขนาดความโตของรูเจาะ (Diameter or Circumference)
4. ค่าสัมประสิทธ์ของการตัดเฉือน (Shearing coefficient)

สามารถคำนวณได้จากสูตรการคำนวณดังต่อไปนี้

ดังตัวอย่าง

เหล็กธรรมดา (SPCC) ความหนา 3.2t รูเจาะขนาด 50 mm. โดยพันซ์มีมุมตัดเฉือนที่ 2.4 mm.

Shearing strength




Shearing coefficient


หวังว่าจะมีประโยชน์ในการใช้คำนวณแรงพันซ์ของเครื่องจักรอย่างถูกต้อง

สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata 

#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc


ความรู้ดีๆจากเรา IIT Group
#MURATA #MURATEC