www.iitgroup.in.th

www.iitgroup.in.th
murata-muratec-เครื่องพันช์

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีจาก MURATA Turret Punch Press + SL Loader ลดค่าใช้จ่ายง่ายๆ เพิ่มกำไรเห็นๆ ตัดปัญหาต่างๆได้หมด

ทุกวันนี้ปัญหาแรงงานคนเป็นปัญหาที่แทบทุกโรงงานต้องเจอ คนขาด ลาบ่อย ทำงานไม่ได้ตามที่มอบหมาย งานล้าช้า
ทำให้มีผลกระทบในงานผลิต ส่งงานไม่ทัน ลูกค้าต่อว่า วันนี้ขอแนะนำ เครื่องพันช์ MURATA พร้อมชุด โหลดงานอัตโนมัติ ลดปัญหาคนขาด คนลา งานไม่ได้คุณภาพ  ค่าแรงช่างทุกวันนี้อยู่ที่ประมาณ 500 บาท ต่อ 8 ชั่วโมง วันหนี่ง 3 กะ ค่าใช้จ่ายวันละ 1500 บาท ยังไม่รวมโบนัส สวัดิการ และอื่นๆอีกมากมาย ปีๆหนึ่ง ค่าใช้จ่ายตก หลายแสนบาทบางที่ตกเกือบล้าน ตอนนี้ในต่างประเทศและในประเทศนิยมนำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานคนกันมากขึ้น

เครื่องพันช์ MURATA Turret Punch Press + SL Loade ตอบโจทย์ได้ดี ทำงานได้ยาว 24 ชั่วโมง ไม่ง่วง ไม่เหนื่อย ไม่ล้า ราคาแนะนำวันนี้ คุ้มแน่นอน คืนทุนไวแน่นอน ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและการลงทุนถูกมากเมื่อเทียบกับค่าแรงในวันนี้ อย่าช้าครับ ธุรกิจวันนี้ต้องก้าวนำครับ





สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata

‪#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานอุตสาหกรรม มีสาเหตุจากข้อบกพร่องของบุคลากรและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการรักษาความปลอดภัยในการทำงานในรอบคอบ องค์ประกอบสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม มีดังนี้
1.บุคลากร จะต้องเตรียมความพร้อมของบุคคลที่รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพอนามัย ทั้งร่างกาย จิตใจ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่รับผิดชอบ เพราะบุคลากรเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุ หรือความไม่ปลอดภัยจากการทำงานมากที่สุด หากทุก
คนมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมาแล้วย่อมจะเป็นการลดปัญหาของการเกิดอันตรายจากการทำงานลงได้
นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปต้องมีเจ้าหน้าที่ปลอดภัยในการทำงาน (จป.) 1 คน เพื่อดูแลด้านความปลอดภัยของลูกจ้างในสถานประกอบการอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการรองรับและสนับสนุนงานด้านความปลอดภัยภัยอย่างต่อเนื่อง2.สภาวะแวดล้อมของการทำงาน ได้แก่
2.1 บรรยากาศ เช่น แสงสว่าง อากาศ เสียง กลิ่น ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้การทำงานเป็นไปด้วยดีหากมีความพร้อมและส่วนประกอบที่พอเหมาะ คือ แสงสว่างพอเพียงกับการมองเห็น อากาศโปร่งสบายไม่แออัด และเสียงจะต้องไม่ดังเกิน เป็นต้น
2.2 เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ของการทำงานอุตสาหกรรม เครื่องมือทุกประเภทจะต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ มีการตรวจสอบสม่ำเสมอ จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบและสัดส่วนเหมาะสม ซึ่งหลักการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการทำงานทั่วไป คือ จะต้องมีสภาพดี ใช้ให้ถูกวิธี ใช้เหมาะกับสภาพงาน และใช้เก็บให้เป็นที่ หากปฏิบัติดังกล่าวมาแล้วความปลอดภัยจากการทำงานจะเกิดขึ้น
2.3 กฎระเบียบ สถานประกอบการทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่รัฐบาลกำหนดเพื่อรักษาความปลอดภัย เช่น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ฯลฯ ก็จะต้องประกาศระเบียบข้อบังคับขึ้นใช้ในโรงงานให้บุคคลปฏิบัติตาม

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

งานตู้ งานพันช์ งานพับ งานโลหะแผ่น ไว้ใจเรา ไอไอทีกรุ๊ป ผู้นำด้านงานบริการโลหะแผ่น 

งานโลหะแผ่นทุกวันนี้ มีการแข่งขันกันสูงทั้งด้านราคา ด้านคุณภาพ สิ่งหนึ่งที่ทางผู้ผลิดต้องเพิ่ม คือการลดต้นทุน เพิ่มกำลังการผลิต ให้ได้งานที่มีคุณภาพ และ ราคาที่สมเหตุสมผล เพื่อการแข่งขันในตลาดทุกวันนี้ ทางเราเป็นผู้นำเข้าเครื่องพันช์ และ เครื่องพับ เทคโนโลยีสูงจากประเทศญี่ปุ่นในแบรนด์ MURATA ด้วยเทคโนโลยีที่พร้อมให้คุณ รู้ว่า งานคุณภาพกับราคาประหยัด เราพร้อมให้คำปรึกษาในทุกๆด้านในการผลิตโลหะแผ่น ด้วยทีมงานคุณภาพได้รับการอบรมและเทรนนิ่งจากผู้ผลิตโดยตรง







สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata

‪#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

การพับโลหะแผ่น

 เราจะมาคุยกันเรื่องงานพับนะครับ การพับโลหะแผ่นนั้น ปัจจุบัน สามารถทำได้หลายวิธี เช่นAพับโดยการควบคุมแรงอัดจากมีดพับ (Air Bending)พับในร่อง V-die (Bottoming)พับโดยการใช้แคลมป์ยึดชิ้นงาน (Folding) อย่างไรก็ตาม ที่นิยมใช้กันคือ การพับในร่อง V-Die โดยเครื่องพับ Hydraulic Press Brake มีลักษณะดังรูปด้านล่าง

                                                                   

ในรูปที่ 1 เป็นลักษณะการพับ 90 องศา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการพับพื้นฐานสำหรับใช้พับงานทั่วๆไปเช่นพับฉากพับรางตัวยูถาด แต่สำหรับงานพับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น งานพับที่มีการกำหนดรัศมีมุมพับงานพับแบนงานที่มีการพับหลายครั้งมีองศาต่างๆกัน ฯลฯ งานลักษณะนี้ tooling (punch และ die) ทั่วๆไป อาจจะไม่สามารถพับได้ ซึ่งก็ต้องใช้ tooling พิเศษ ดังรูปที่ 2

                                                      

                 งานพับโลหะแผ่น ในลักษณะงานรับจ้างนั้น เป็นงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการพับพอสมควร เนื่องจากช่างพับจะต้องรู้ว่า แบบที่ลูกค้าส่งมาสามารถพับด้วยทูลลิ่งที่มีอยู่ได้หรือไม่ และต้องเรียงลำดับขั้นตอนการพับให้ดี เพราะหากวางลำดับการพับผิด อาจจะทำให้ไม่สามารถพับต่อได้เนื่องจากชิ้นงานส่วนที่พับขึ้นมาแล้วจะชนกับมีดพับและทำให้ไม่สามารถสอดชิ้นงานส่วนที่ต้องการพับเข้าไปได้ หรือ สอดเข้าไปได้แต่มีดพับไม่สามารถกดลงไปได้สุดเนื่องจากชิ้นงานส่วนที่พับขึ้นมาแล้วจะตีขึ้นมาชนมีดพับก่อน  ดังตัวอย่างงานในรูปที่ 3

                                                                        
      
ถ้างานพับเป็นลักษณะตามรูปที่ 3 เราต้องวางลำดับการพับตามรูป การเปลี่ยนลำดับการพับเป็นรูป Bหรือ C จะทำให้ไม่สามารถพับในขั้นตอนสุดท้ายได้ เนื่องจากชิ้นงานส่วนที่พับขึ้นมาแล้วจะไปชนตัว punch หรือdie ก่อน ในการพับแต่ละครั้งนั้น จะต้องมีระยะเผื่อสำหรับการยืดตัวของเหล็ก ซึ่งมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อระยะเผื่อนี้ คือ 1. วัสดุ 2. ความหนา 3. องศาในการพับ 4. ทูลลิ่ง (มีดพับและร่องพับ)ที่ใช้ในการพับ โดยปกติแล้วแบบที่ลูกค้าให้มาจะเป็นแบบภาพฉายมาตรฐาน ไม่ได้ให้มาเป็นแผ่นคลี่ ซึ่งจะบอกขนาดที่ต้องการหลังจากพับขึ้นรูปมาแล้ว การเผื่อระยะนี้จึงมีความสำคัญมากต่อความแม่นยำของขนาดชิ้นงาน

                                                   
  

               จากรูปที่ 4 เป็นรูปหน้าตัดชิ้นงานยาว 1500mm วัสดุหนา 3mm ชิ้นงานมีการพับ 90 องศา 4 ครั้ง ขนาดตามแบบเป็นขนาดวัดนอก หากไม่คิดความหนาเลย เมื่อคลี่แบบออกมาจะต้องตัดแผ่นขนาดกว้าง(100+50*2+20*2)mm ยาว 1500mm มาพับ แต่ในความเป็นจริง วัสดุมีความหนา และขนาดวัดนอกที่ให้มานี้จะรวมความหนาเข้าไปด้วยทำให้เราต้องเผื่อระยะ(ค่าลบ)ในส่วนนี้ และต้องเผื่อการยืดตัวของเหล็กด้วย ยิ่งชิ้นงานมีความหนามากขึ้น การหาระยะเผื่อก็ยิ่งมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงขึ้น   ซึ่งถึงแม้ว่าระยะเผื่อในการพับแต่ละครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนไม่มากนัก แต่หากชิ้นงานมีการพับหลายครั้งเมื่อนำมาค่าความคลาดเคลื่อนทั้งหมดมารวมกันแล้ว ก็อาจจะเกินค่าที่ยอมรับได้
ในทางทฤษฎี จะมีสูตรคำนวณสำหรับการหาระยะเผื่อซึ่งคำนึงถึงปัจจัยทั้งสี่ข้อที่กล่าวมาแล้ว ลองพิจารณาตามรูปที่ 5

                                                   


                   ระยะ tna คือ ระยะจากผิวหน้า ถึงแกนสะเทิน(Neutral Axis) โดยระนาบที่อยู่บนแกนสะเทินนี้จะมีความเค้นดึงเท่ากับความเค้นกด ทำให้เนื้อวัสดุบนระนาบนี้เสมือนว่าไม่มีการยืดหรือหดตัว ค่า tna นี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัสดุและความหนา ซึ่งจะเป็นผลมาจากค่า  k (K-factor) ซึ่งเป็นค่าคงที่สำหรับแต่ละวัสดุ ค่า kนี้จะนำมาใช้ในการคำนวณตามสูตร


                                                       

                   
                    โดย BA คือ Bend Allowance หรือ ระยะเผื่อสำหรับแต่ละวัสดุที่ความหนาต่างๆ ในส่วนของทูลลิ่งจะมีผลต่อ Rและองศาในการพับจะมีผลต่อองศา a
ทั้งหมดนั้นคือ สูตรการคำนวณระยะเผื่อในทางทฤษฎี แต่ในความเป็นจริงแล้วค่าที่ได้ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เนื่องจากส่วนผสมของวัสดุอาจไม่ได้มาตรฐาน, ความหนาของชิ้นงานจริงไม่ใช่ความหนาเต็มความสม่ำเสมอและเที่ยงตรงของเครื่องพับ ดังนั้นการเผื่อระยะจึงต้องอิงกับประสบการณ์ของช่างที่มีต่อเครื่องพับนั้นๆด้วย แม้แต่ช่างที่มีประสบการณ์ หากชิ้นงานที่มีการพับหลายครั้งหรือ ค่อนข้างซับซ้อน ก็ยังอาจจะต้องหาเศษวัสดุมาลองพับดูก่อน แล้วค่อยๆปรับค่าระยะเผื่อจนได้ขนาดตามแบบ เพื่อให้ได้ความแม่นยำสูงสุด เอาละครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

อ้างอิง Evangelos K., Achilles V., “The Study of Design Constants in Sheet Metal Forming”, 2ndIC-SCCE, 2006

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล
ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 2 ฉบับที่ 22-23 / มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558


Turret Punch Press MURATA Deburring 

การทำงานชุดลบคมอัตโนมัติ เครื่องพันช์ MURATA

หมดปัญหาเรื่องครีบงาน ไม่ต้องเอาลงมาขัดข้างนอกเครื่อง 
เร็วกว่าเห็นๆ ประหยัดกว่าชัดๆ 

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ ไอไอที กรุ๊บ 02-195-7347-49

Hotline 084-771-1559





สนใจปรึกษาและสอบถามได้ที่ เอกชัย ไอไอที กรุ๊ป 084-7711559 หรือwww.iitgroup.in.th
เราพร้อมให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา เกียวกับ เครื่องพันช์ เครื่องปั้ม Turret Punch Press Murata

‪#‎Murata‬#Muratec# เครื่องพันช์#Punch#Punching#Turret Punch Press#Turret Punch#มูราตะ#Murata punch#Murata Punching#muratec Punch#muratec Punching#งานพันช์#งานโลหะแผ่น#เครื่องพันช์ cnc